วันนี้ 15 ก.พ. 67 เป็นวันสุดท้ายแล้ว สำหรับมาตรการ “Easy E-Receipt” หรือโครงการช้อปปิ้งสูงสุด 50,000 บาทแล้วได้เงินภาษีคืน ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. เป็นต้นมา

สำหรับใครที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิแต่สนใจจะเข้าร่วมมาตรการในวันสุดท้ายนี้ นิวมีเดีย พีพีทีวี รวบรวมทุกรายละเอียดต้องรู้ไว้ที่นี่แล้ว

ผู้ใช้สิทธิประโยชน์ตามมาตรการ “Easy E-Receipt” คือใคร?

บุคคลธรรมดาเท่านั้น ไม่รวมห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ครม.เคาะแล้ว “Easy E-Receipt” ซื้อสินค้าคืนภาษี 50,000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.67

งบประมาณ 2567 : พลิกแฟ้ม วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท กระทรวงไหนได้มากสุด?

วิธีเช็คร้านค้าที่ร่วมมาตรการ Easy E-Receipt

มาตรการ “Easy E-Receipt” เป็นการให้สิทธิประโยชน์อะไร?

มาตรการ Easy e-Receipt จะลดหย่อนภาษีจากการช้อปปิ้งสูงสุด 50,000 บาท โดยจะจะไม่ใช่การนำยอดซื้อทั้งหมดไปลดหย่อนภาษี แต่จะเป็นการลดหย่อนจากจำนวนเงินได้พึงประเมินสุทธิ ที่ต้องนำไปคำนวณร่วมกับฐานภาษีแบบขั้นบันได

โดยจะหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสำหรับการซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท

ข้อสำคัญคือ จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) จากระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร

ทั้งนี้ เว้นแต่ ค่าหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และค่าบริการ หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต รวมถึงค่า สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว จะจ่ายให้แก่ผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ โดยจะต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) จาก ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร

ค่าซื้ออาหารในโรงแรม สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้หรือไม่

ได้ หากโรมแรมสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ของค่าซื้ออาหารได้

ค่าซ่อมรถ สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้หรือไม่

ได้ หากเป็นการซ่อมและจ่ายค่าซ่อมระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 และผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้

การซื้อทองรูปพรรณ สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้หรือไม่

สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าได้ เฉพาะค่ากำเหน็จ (ตามมูลค่าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) หากผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ แต่การซื้อทองคำแท่ง ไม่ได้

ค่าซื้อแพคเกจทัวร์ท่องเที่ยวในประเทศ สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้หรือไม่

ได้ หากเป็นการใช้แพคเกจทัวร์ท่องเที่ยวระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567และผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้

กรณีจ่ายค่าที่พักโรงแรม หรือจ่ายค่าบริการนำเที่ยว ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ได้หรือไม่

ได้ หากเป็นค่าที่พักโรงแรมหรือค่าบริการนำเที่ยวระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์2567และผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้

ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้หรือไม่

ไม่ได้

กรณีชำระค่าบริการระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 แต่ได้ใช้บริการหลัง วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จะสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ได้หรือไม่

ไม่ได้ เนื่องจากต้องชำระค่าบริการและใช้บริการในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เท่านั้น

ค่าซื้อประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้หรือไม่

ไม่ได้

ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้หรือไม่คำพูดจาก สล็อต777 เว็บตรง

ไม่ได้

ค่าซื้อบัตรเพื่อแลกรับบริการ สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้หรือไม่

 รวมทุกเรื่องต้องรู้ มาตรการ “Easy E-Receipt” วันสุดท้าย!

ไม่ได้

ค่าซื้อบัตรของขวัญของห้างสรรพสินค้า (Gift voucher) ค่าซื้อบัตรของขวัญ (Voucher) สำหรับค่าซื้ออาหารของโรงแรม บัตรเติมเงินค่าโทรศัพท์ สามารถนำมาหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้หรือไม่

ไม่ได้

ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร และแตกต่างจากใบกำกับภาษีและใบรับในรูปแบบกระดาษอย่างไร

e-Tax Invoice & e-Receipt คือ ใบกำกับภาษี(e-Tax Invoice) และใบรับ (e-Receipt) ที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และได้ลงลายมือชื่อโดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ซึ่งประชาชนไม่ต้องเก็บรักษาใบกำกับภาษีและจัดส่งให้กรมสรรพากรในการเข้าร่วมมาตรการ โดยสามารถใช้ข้อมูล e-Tax Invoice ในฐานข้อมูลของกรมสรรพากรในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี และ เจ้าหน้าที่จะไม่ขอให้ส่งใบกำกับภาษีอีก หากมีข้อมูลในฐานข้อมูลของกรมสรรพากรแล้ว

ต้องใช้หลักฐานใดในการใช้สิทธิหักลดหย่อน

หลักฐานที่ใช้ คือ ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จากระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice &e-Receipt) ของกรมสรรพากร (ใบกำกับภาษีที่มีข้อความระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี อากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ)

ผู้ซื้อมีที่อยู่ตามบัตรประชาชนกับที่อยู่ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแตกต่างกัน

ให้ใช้ที่อยู่ใด จะใช้ที่อยู่ตามบัตรประชาชนหรือที่อยู่ปัจจุบันก็ได้

กรณีซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการหลายครั้ง (มีใบกำกับภาษีหลายใบ) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จะสามารถนำมูลค่าการซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการแต่ละครั้งมา รวมกันเพื่อใช้สิทธิได้หรือไม่

ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 50,000 บาท

กรณีซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการครั้งเดียว (มีใบกำกับภาษี 1 ใบ) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมูลค่าการซื้อสินค้าหรือการชำระค่าบริการนั้นสูงกว่า 50,000 บาท สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการรับสิทธิได้หรือไม่

สามารถใช้สิทธิตามมาตรการนี้ได้ แต่จะได้รับสิทธิ 50,000 บาท

ใบกำกับภาษีมีชื่อผู้ซื้อสินค้าหลายคน สามารถนำรายจ่ายดังกล่าวไปหักลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้หรือไม่

ไม่ได้ ใบกำกับภาษีต้องมีชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการเพียงคนเดียว

กรณีใบกำกับภาษีมีทั้งรายการสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จะหัก ลดหย่อนอย่างไร

สามารถนำมาหักลดหย่อนได้เฉพาะค่าซื้อสินค้าและค่าบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่ค่าซื้อสินค้าหรือ ค่าบริการดังต่อไปนี้สามารถนำมาหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ได้ แม้จะจ่ายให้แก่ผู้มิใช่เป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
  2. ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  3. (e-Book)
  4. ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว

ภาพปก :freepik โดย shisuka

กทพ.ลงโทษพนักงานสาว โพสต์ดูถูกรถขึ้นทางด่วนฟรีช่วงปีใหม่

ปฏิทินวันพระ 2567 เช็กวันสำคัญทางศาสนา-วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่เท่าไร

เช็กวันมงคล ฤกษ์ดี วันดี-วันกาลกิณี "เดือน มีนาคม"

By admin