เพราะหลายฝ่ายกังวลว่านี่อาจเป็นสัญญาณความเป็นไปได้ ที่รัสเซียจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ เพื่อโต้ตอบการที่สหราชอาณาจักรส่งกระสุนยูเรเนียมด้อยสมรรถนะให้ยูเครน หลังจากที่รัสเซียประกาศจะติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในเบลารุส บรรดาชาติพันธมิตรตะวันตกและองค์การนาโต ได้ออกมาประณามการกระทำดังกล่าวของรัสเซียแทบจะทันที ขณะเดียวกันประธานาธิบดีปูตินได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อถึงประเด็นนี้เช่นกัน หลังจากที่ประกาศแผนดังกล่าวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง อันดับ 1
เจ็บแต่จบ! สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีโอกาสสิ้นสุดในปีนี้?
IAEA เตือนโลกเสี่ยงเผชิญหายนะนิวเคลียร์อีกครั้ง
วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า การนำอาวุธนิวเคลียร์ไปประจำในเบลารุสไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใด เพราะสหรัฐฯ ก็ทำเช่นนี้ในประเทศพันธมิตรมิตรนาโต โดยเฉพาะกับชาติในยุโรป
ก่อนที่ผู้นำรัสเซียจะย้ำว่า การติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ไม่ได้ละเมิดสนธิสัญญาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาวุธนิวเคลียร์
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีปูตินยังได้พูดถึงเรื่องกระสุนยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ ที่สหราชอาณาจักรจะส่งมาให้ยูเครนด้วยเช่นกัน โดยระบุว่ารัสเซียก็มีกระสุนชนิดนี้หลายแสนนัด และรัสเซียยังไม่เคยนำมาใช้ในสงคราม
ก่อนที่จะกล่าวเสริมว่า ตอนนี้รัสเซียกำลังเร่งผลิตรถถังเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าเมื่อผลิตเสร็จแล้ว จะมีจำนวนมากกว่าที่กองทัพยูเครนมีราว 3 เท่า หรืออาจมากกว่านั้น
หากถอดรหัสคำพูดของผู้นำรัสเซียจะเห็นได้ว่า ผู้นำรัสเซียยืนยันว่าการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ในเบลารุสเป็นเรื่องปกติ และไม่ได้พูดว่าจะอาวุธใช้นิวเคลียร์ประเภทนี้ในสงคราม
ล่าสุด จอห์น เคอร์บี โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นนี้ไปในทิศทางเดียวกับผู้นำรัสเซียว่า สหรัฐฯ ยังไม่เห็นสัญญาณเช่นกันว่ารัสเซียจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีเพื่อทำสงครามในยูเครน
คำพูดของโฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ สอดคล้องกับคำแถลงของ โออานา ลุงเกสคู โฆษกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโตที่ระบุว่า
ทางนาโตยังไม่เห็นสัญญาณว่ารัสเซียจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ในยูเครน ดังนั้นนาโตจะยังไม่เปลี่ยนท่าทีเกี่ยวกับการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์เช่นกัน
อย่างไรก็ดี โฆษกนาโตได้จวกการกระทำของรัสเซียว่าเป็นอันตราย ขาดความรับผิดชอบ และนาโตจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
แม้ผู้นำรัสเซีย โฆษกสภาความมั่นคงสหรัฐฯ และโฆษกนาโต จะออกมายืนยันว่า ยังไม่มีสัญญาณว่ารัสเซียจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ทำสงคราม
แต่สหภาพยุโรปและบางประเทศออกมายืนยันว่า การกระทำเช่นนี้คือการคุกคามความมั่นคงในภูมิภาค และจะคว่ำบาตรทั้งรัสเซียและเบลารุสเพิ่มเติม
โจเซพ บอเรลล์ ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรป ได้ออกมาทวิตข้อความประณามรัสเซีย โดยระบุว่า
การกระทำดังกล่าวของรัสเซียและเบลารุสเป็นการยกระดับความขัดแย้งและคุกคามความมั่นคงของยุโรป เบลารุสมีทางเลือกและต้องหยุดการกระทำดังกล่าว และสหภาพยุโรปพร้อมจะออกมาตรการคว่ำบาตรทั้งรัสเซียและเบลารุสเพิ่มเติม เพื่อตอบโต้กับพฤติการณ์อันตรายดังกล่าว
ขณะเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศลิทัวเนียได้ประกาศผ่านทางหน้าเว็บไซต์เช่นกันว่า ลิทัวเนียจะติดตามแผนการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียในเบลารุสอย่างใกล้ชิด และจะหารือร่วมกับชาติในกลุ่มยูโร-แอตแลนติก ซึ่งประกอบด้วยชาติสมาชิกนาโต ชาติทีเคยเป็นอดีตสมาชิกของสหภาพโซเวียตรวมกว่า 50 เพื่อจัดการกับปัญหานี้
ตลอดจนกระทรวงการต่างประเทศลิทัวเนียยืนยันว่า จะออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียและเบลารุสเพิ่มเติมหลังจากนี้
หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า อะไรคือแรงจูงใจที่ทำให้ประธานาธิบดีปูตินวางแผนติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ในดินแดนของประเทศเพื่อนบ้าน จนทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลถึงหายนะจากสงครามนิวเคลียร์
จิลล์ ดอลเฮอร์ตี นักวิเคราะห์ของสำนักข่าว CNN ระบุว่า การพูดถึงเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ของผู้นำรัสเซียคือ ลูกเล่นเดิมที่ใช้เพื่อดึงดูดและเบนความสนใจของสาธารณชน ตลอดจนผู้ที่ติดตามสถานการณ์ ไม่ให้สนใจปัญหาที่กำลังรุมเร้าผู้นำรัสเซียอยู่ในเวลานี้
ตอนนี้ผู้นำรัสเซียกำลังเผชิญกับปัญหารุมล้อมรอบด้าน จากการตัดสินใจทำสงครามกับยูเครน โดยเฉพาะการรบที่รัสเซียทำได้แค่โจมตีทางอากาศใส่ยูเครน แต่การรบในพื้นที่ไม่มีความคืบหน้ามากนัก
ขณะเดียวกัน ผู้นำรัสเซียยังถูกศาลอาญาระหว่างประเทศออกหมายจับในฐานะอาชญากรสงคราม จากการมีส่วนรู้เห็นเรื่องการลักพาตัวเด็กชาวยูเครนไปยังรัสเซีย
นอกจากนี้ ผู้นำรัสเซียยังต้องเผชิญกับการเสียเปรียบทางการทูต หลังจากที่สี จิ้น ผิง ประธานาธิบดีจีนเดินทางเยือนรัสเซียด้วยตนเอง
หลังจากการพบกันเสร็จสิ้น จีนกลายเป็นฝ่ายได้เปรียบ โดยหลายฝ่ายมองว่ารัสเซียกลายเป็นลูกไล่ และกลายเป็นบ่อเงินบ่อทองด้านพลังงานของจีน
สาเหตุที่ทำให้นักวิเคราะห์รายนี้เชื่อว่าการประกาศของผู้นำรัสเซียเป็นการเล่นใหญ่เพื่อเบี่ยงปัญหา เนื่องจากอาวุธนิวเคลียร์ที่รัสเซียจะนำมาติดตั้งเป็นอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธี ซึ่งจะมีขนาดเล็กและใช้ในสนามรบเท่านั้น
อาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีจะต่างจากอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ ที่สามารถยิงข้ามทวีป และทำให้ผู้คนล้มตายได้จำนวนมาก เช่นเดียวกับที่สหรัฐฯ ใช้โจมตีญี่ปุ่นที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
นอกจากนี้ ผู้นำรัสเซียระบุเพียงว่า รัสเซียกำลังสร้างโรงเก็บอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธี ซึ่งคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในเดือนกรกฎาคม และไม่ได้ระบุว่าจะนำอาวุธไปประจำการที่เบลารุสเมื่อใด
อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีไปไว้ในเบลารุสครั้งนี้ ก็มีความเสี่ยงสำหรับรัสเซียเช่นกัน
เบลารุสคือพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของรัสเซียที่ตั้งของประเทศนี้ความสำคัญทางยุทธศาสตร์กับรัสเซีย เนื่องจากพรมแดนทางใต้ของเบลารุสอยู่ไม่ไกลมากนักจากกรุงเคียฟเมืองหลวงของยูเครน ส่วนทางเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือติดกับประเทศโปแลนด์และลิทัวเนีย
ดังนั้นการนำอาวุธนิวเคลียร์ไปติดตั้งที่เบลารุสจึงไม่ได้คุกคามแค่ความมั่นคงของยูเครนเท่านั้น แต่จะคุกคามเพื่อนบ้านของเบลารุส อย่างโปแลนด์ ลัตเวีย และลิทัวเนีย ซึ่งมีสถานะเป็นชาติสมาชิกนาโตด้วย จนอาจนำไปสู่ความตึงเครียดและการเผชิญหน้าระหว่างนาโตและรัสเซียในภูมิภาคบอลติก
ล่าสุดวันนี้ 27 มี.ค. กระทรวงกลาโหมเบลารุสได้เผยแพร่ภาพวิดีโอขณะที่ซ้อมใช้ระบบป้องกันภัยทางอากาศรุ่นธอร์-เอ็ม 2 (Tor-M2) ซึ่งได้รับการสนับสนุนมาจากรัสเซีย
หลายฝ่ายประเมินว่าเบลารุสอาจพยายามส่งสัญญาณบางอย่างแก่ชาติตะวันตก เพราะการซ้อมครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่ประธานาธิบดีปูติน ประกาศว่าจะประจำการอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีบนแผ่นดินเบลารุส
ในขณะที่ผู้นำรัสเซียประกาศประจำการอาวุธนิวเคลียร์ในเบลารุส สถานการณ์การสู้รบในพื้นที่โดยเฉพาะเมืองบัคมุตในแคว้นโดเนตสก์ ยังคงเป็นไปอย่างดุเดือด
ภาพมุมสูงจากโดรนเผยให้สภาพความเสียหายของเมืองบัคมุต อาคารบ้านเรือนและที่พักอาศัยของประชาชน ที่บางส่วนกลายเป็นตึกร้างมีรอยไหม้และมีควันพวงพุ่งออกมา บางส่วนกลายพังราบเป็นหน้ากลอง ทิ้งไว้แค่เพียงเศษซากและกองปูน
นี่คือภาพที่เกิดขึ้นหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันอย่างหนักในช่วง 6-7 เดือนที่ผ่านมา และไม่มีสัญญาณว่าการต่อสู้จะจบลงในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าหมายว่าจะยึดเมืองแห่งนี้ให้ได้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ
ที่ผ่านมา รัสเซียได้เปรียบในการรบในพื้นที่จนสามารถยึดพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกของเมืองบัคมุตได้
แต่ตอนนี้รัสเซียสามารถรุกคืบยึดพื้นที่ในเมืองบัคมุตได้ช้าลงเรื่อย ๆ และยังไม่สามารถเข้าถึงใจกลางของเมืองนี้สำเร็จ เนื่องจากกองทัพยูเครนวางแนวรับไว้อย่างดี
หลายฝ่ายคาดว่ารัสเซียและกองทัพแวกเนอร์อาจเสียทหารและอาวุธไปจำนวนมาก จนทำให้อาวุธเริ่มลดลงและไม่สามารถต่อสู้กับยูเครนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในส่วนของทหารรัสเซียที่เสียชีวิตจากการสู้รบ เมื่อวานนี้ทางการรัสเซียได้ทำพิธีฝังร่างที่โบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองทางภาคตะวันตกของรัสเซีย
บรรยากาศเป็นไปด้วยความโศกเศร้า มีญาติและกองทหารมาวางพวงมาลา พร้อมกับบรรเลงเพลงเพื่อสดุดีเกียรติแด่ทหารผู้วายชนม์
ล่าสุดเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา ผู้ว่าการแคว้นโดเนตสก์รายงานว่า รัสเซียได้โจมตีใจกลางเมืองสลาเวียนสก์ หนึ่งในเมืองคู่แฝด เมืองสำคัญของแคว้นโดเนตสก์ ด้วยขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานรุ่น S-300 จำนวน 2 ลูก
ผลจากการโจมตีทำให้อาคาร รถยนต์ และทรัพย์สินของประชาชนเสียหาย ตลอดจนมีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุอย่างน้อย 2 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 29 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีเด็กรวมอยู่ด้วย
หลายฝ่ายมองว่า นี่คือการส่งสัญญาณว่า สลาเวียนสก์คือเป้าหมายต่อไปที่รัสเซียจะยึดครองต่อหลังจากได้รับชัยชนะในเมืองบัคมุต
ขณะที่ ออร์แลนโด บลูม ทูตสันถวไมตรีขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ UNICEF ได้เข้าพบและหารือร่วมกับโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครนในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน
ประเด็นสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายหารือกันคือ การบูรณะและสร้างอาคารเรียนสำหรับเด็ก ๆ ในหลายพื้นที่ของยูเครนขึ้นมาใหม่ การสร้างหลุมหลบภัยให้แก่เด็ก ๆ การสนับสนุนด้านเทคนิคเพื่อให้เด็กๆ สามารถเรียนทางไกลได้ รวมถึงการพาตัวเด็ก ๆ ที่ถูกรัสเซียลักพาตัวไปกลับมายังบ้านเกิดในยูเครน